บริการ
บริการ
วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
การจดทะเบียนหย่า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ ม. 1514 กำหนดว่า "การหย่าจะทำได้โดยความยินยอม ของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยาน ลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ การจดทะเบียนหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 จะทำที่สำนักทะเบียนใด ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงก็ได้ ซึ่งกฎกระทรวงการต่างประเทศออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวฯ ข้อ 1 และข้อ 2 ให้ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยเป็นสำนักทะเบียน และให้เจ้าพนักงานทูตหรือกงสุลเป็นนายทะเบียนได้ ดังนั้น คู่สมรสตามกฎหมายไทยที่ประสงค์จะหย่าสามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนหย่า
1. บัตรประตัวประชาชนไทย / หนังสือเดินทางไทย / บัตรข้าราชการไทย
2. สำเนาทะเบียนบ้านไทย
3. ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรส
4. หนังสือสัญญาหย่า
5. คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา)
6. เอกสารอื่นๆ อาทิ สูติบัตรของบุตร (ในกรณีมีบุตรด้วยกัน) เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน/ค่าเลี้ยงดูที่ต้องการ ให้ระบุในทะเบียนหย่า เป็นต้น
ค่าธรรมเนียม
ไม่มีค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาในการดำเนินการ
ยื่นคำร้อง ณ ที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในวันราชการ โดยโทรศัพท์นัดหมายวันและเวลาที่จะมายื่นคำร้องล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการได้รับบริการ ทั้งนี้ ในกรณีที่คู่หย่าไม่สามารถยื่น คำร้องต่อนายทะเบียนสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมกันได้เนื่องจากอาศัยอยู่คนละประเทศ คู่หย่าสามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าต่างสำนักได้ตามพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 5
เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับคำร้องและตรวจสอบเอกสารแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ในการดำเนินการ จากนั้น จะนัดหมายให้คู่หย่าและพยานมาลงนามในทะเบียนหย่า โดยสามารถรอรับทะเบียนหย่าได้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะออกสำเนาทะเบียนหย่าให้คู่หย่าเก็บไว้เป็นหลักฐานคนละชุด