Marriage Registration

Marriage Registration

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 13,920 view
  •  การจดทะเบียนสมรส

    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1459 บัญญัติว่า การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยสามารถดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศได้

    เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรส

    1.  บัตรประจำตัวประชาชน/ หนังสือเดินทาง/ บัตรข้าราชการ

    2.  สำเนาทะเบียนบ้าน

    3.  หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)

    4.  หนังสือรับรองความเป็นโสด(ต้นฉบับ) ออกให้โดยอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ วันที่อำเภอหรือเขตออกหนังสือรับรอง ฯ ให้ จนถึงวันที่ยื่นขอจดทะเบียน กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือรับรองคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเสรีภาพในการสมรส  ซึ่งออกโดยทางการของประเทศที่ผู้ร้องมีสัญชาติ

    5.  หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

                      5.1 คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

                       5.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม

                       5.3 มีใบรับรองแพทย์แสดงว่า มิได้ตั้งครรภ์

                       5.4 มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

    6.  ใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล)

    7.  สูติบัตรของบุตร/หรือทะเบียนบ้านบุตร (กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)

    8.  ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

    ค่าธรรมเนียม

    ไม่มีค่าธรรมเนียม

     

    ระยะเวลาในการดำเนินการ

    ยื่นคำร้อง ณ ที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในวันราชการ โดยโทรศัพท์เพื่อทำนัดหมายวันและเวลาที่จะมายื่นคำร้องล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการได้รับบริการ

    เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ รับคำร้องและตรวจสอบเอกสารแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการดำเนินการ จากนั้น จะนัดหมายให้คู่สมรสและพยานมาลงนามในทะเบียนสมรส โดยสามารถรอรับทะเบียนสมรสได้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะออกสำเนาทะเบียนสมรส 2 ชุดให้คู่สมรสเก็บไว้เป็นหลักฐานคนละชุด